O19 การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานีตำรวจ

กิจกรรมที่ 1 ประกาศนโยบายต่อต้านการรับสินบน และป้ายประกาศ

ประกาศ สถานีตำรวจภูธรโนนเจริญ เรื่อง นโยบายต่อต้านการรับสินบน No Bribery Policy และการไม่รับของขวัญของกำนัลหรือประโยชน์อื่นใด (์No Gift Policy) ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ให้มีความสอดคล้องและครอบคลุมประเด็นในการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใส และต่อต้านการทุริต/ต่อค้านการรับสินบนในหน่วยงาน

กิจกรรมที่ 2 การประชุม กำชับและติดตามการปฏิบัติ

ภาพประชาชนที่มาใช้บริการ และทำการประเมินความโปร่งใส่ของสถานี

กิจกรรมที่ 3 โครงการอบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลแก่ข้าราชการตำรวจ “นโยบายต่อต้านการรับสินบน No Bribery Policy และแสดงพลังต่อต้านการรับสินบน

วันที่ 29 มีนาคม 2567 พ.ต.ท.นิวัฒน์ ผินสู่ สว.สภ.โนนเจริญ ได้จัด “อบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลแก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด ” นโยบายต่อต้านการรับสินบน No Bribery Policy ” เพื่อให้ข้าราชการตำรวจรับทราบนโยบาย และแสดงเจตนาสุจริต และร่วมกันแสดงพลัง “ต่อต้านการรับสินบน” ณ หอประชุม สภ.โนนเจริญ

“NO Gift Policy” นโยบายต่อต้านการการให้สินบน เพื่อป้องกันการทุจริต

คือ การงดรับ งดให้ของขวัญ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในนโยบาย ป้องกันและต่อต้านทุจริต ขอขอบคุณความปรารถนาดีและมิตรไมตรีวิตของท่านตามนโยบาย NO Gift Policy ของสถาบัน ที่ให้งดรับของขวัญทุกชนิด โดยเปลี่ยนเป็น การให้เพื่อตอบแทนสังคมแทน ทําให้ผู้เขียน นึกถึงเรื่องการกระทําผิดฐาน “เจ้าพนักงาน เรียกหรือรับสินบน” ซึ่งเป็นฐานความผิด ตามกฎหมายอาญา และมีอัตราโทษที่รุนแรง มาก โดยอัตราโทษเริ่มต้นตั้งแต่จําคุกห้าปี ไปจนถึงอัตราโทษสูงสุด คือ ประหารชีวิต กันเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีค่าปรับที่สูงถึง หลักหลายแสนบาทด้วย จะผิดฐาน “เจ้า พนักงานเรียกหรือรับสินบน” ได้นั้น มีหลัก พิจารณาสําคัญเพียงใด ? ผู้เขียนขอสรุป สันกระชับภายใน 1 หน้ากระดาษ A4 ดังนี้

1. จะผิดได้ ต้องเป็นเจ้าพนักงาน ที่มี อํานาจหน้าที่ในเรื่องนั้น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ พัสดุกรรมการจัดจ้างจัดซื้อ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการเงินและบัญชี เจ้าหน้าที่งาน บุคคล ฯลฯ สรุป คือ ได้ทุกตําแหน่งหน้าที่ เลยขอแค่มีอํานาจดําเนินการในเรื่องนั้น ๆ

2. จะผิดได้ ต้องมีการกระทํา ได้แก่ “เรียกรับ หรือยอมจะรับ” เช่น กรรมการ กําหนดคุณสมบัติและราคากลาง กําหนด หลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ประกอบการรายหนึ่ง ชนะการแข่งขันราคา แล้วกรรมการเรียก เงินหรือประโยชน์อื่นใดตอบแทน ก็เป็นความ ผิดฐานนี้ (เทียบเคียงคําพิพากษาศาลฎีกา ที่ อ.ม. 2/2546) เจ้าหน้าที่รัฐรับของขวัญ หรือประโยชน์อื่นใดจากนักศึกษาเพื่อเปลี่ยน แปลงผลการศึกษา ก็เป็นความผิดฐานนี้ (เทียบเคียงคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2520)

3. จะผิดได้ ต้องเป็นการเรียกรับ หรือ ยอมจะรับ สําหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดย ไม่ชอบ โดยมีข้อสังเกตว่า แม้จะนําไปใช้ ประโยชน์ในทางราชการ ถือเป็นประโยชน์ สําหรับผู้อื่นที่ไม่ชอบด้วยเช่นกัน เช่น ปลัด อําเภอเรียกเงินค่าธรรมเนียมเกินกว่าอัตรา ปกติ เพื่อนําเงินไปใช้จ่ายในงานของราชการ ก็ไม่ชอบและเป็นความผิดฐานนี้ (เทียบ เคียงคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2498)

4. จะผิดได้ ต้องเป็นการใช้อํานาจใน ตําแหน่งกระทําการ เช่น กรรมการจัดจ้าง ใช้อํานาจในการดูผลการประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ ขณะนี้การแข่งขันราคายัง ไม่สิ้นสุด แล้วโทรศัพท์ไปแจ้งผู้แข่งขันราย หนึ่งให้ยื่นราคาที่ต่ํากว่ารายอื่น ก็เป็นการ ใช้อํานาจในตําแหน่งกระทําการแล้ว และ ให้พึงสังเกตว่า การใช้อํานาจในตําแหน่ง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ ก็เป็นความผิดได้ ตัวอย่างเช่น ตํารวจมี หน้าที่จับกุมคนร้ายตามที่กฎหมายกําหนด อยู่แล้ว แต่ไปเรียกรับ หรือยอมจะรับเงิน ตอบแทนพิเศษจากผู้เสียหายด้วยก็เป็น ความผิดตามฐานนี้

ดังนั้น จะเห็นได้ว่านโยบาย NO Gift Policy ของผู้บริหารสถาบันเป็นนโยบายที่ดี ป้องกันการใช้อํานาจหน้าที่กระทําผิดได้ อีกทั้งยังช่วยคงไว้ซึ่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของบุคลากรภาครัฐ “ที่ต้องบริการประชาชน”

กิจกรรมต่างๆ